ส่องกล้องทางเดินอาหาร ไม่เจ็บอย่างที่คิด ตรวจง่าย ปลอดภัย
ส่องกล้องทางเดินอาหาร ไม่เจ็บอย่างที่คิด ตรวจง่าย ปลอดภัย
คุณ "มีอาการเหล่านี้" อยู่หรือเปล่า?
- ขับถ่ายผิดปกติ
- ท้องเสียสลับท้องผูก
- ถ่ายเป็นเลือด
- ปวดท้องเรื้อรัง
โรคทางเดินอาหารอาจปรากฏอาการแสดงที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอาการอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน ท้องผูก หรือ ท้องเสียเรื้อรัง จุกแน่นลิ้นปี่ ท้องอืด ท้องเฟ้อ กลืนลำบาก น้ำหนักลด เหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณอันตรายที่ควรได้รับการดูแลเป็นอย่างดี
ในปัจจุบัน เทคโนโลยีการส่องกล้องทางเดินอาหารมีความก้าวหน้าอย่างมาก สามารถช่วยตรวจและวินิจฉัยโรคต่างๆ ในระบบทางเดินอาหารได้อย่างแม่นยำ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อนเรื้อรัง ติ่งเนื้อในกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ นิ่วในทางเดินน้ำดี ท่อน้ำดีอุดตัน เป็นต้น การตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้องจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันเวลา ดังนั้น หากพบอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อให้การดูแลสุขภาพเป็นไปอย่างถูกต้องและทันท่วงที
ส่องกล้องทางเดินอาหาร ตรวจอะไรได้บ้าง
การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารมีหลายแบบ แต่การส่องกล้องที่พูดถึงกันบ่อย ๆ มักมีอยู่ 2 แบบ โดยใช้กล้องที่มีสายยาวสอดเข้าไปทางปากหรือทวารหนัก แบ่งเป็น
- การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน Gastroscopy (EGD) หรือการส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
- การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง Colonoscopy หรือการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
- การส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Endoscopic Retrograde Cholangiopancreatography: ERCP)
ข้อแนะนำ สัญญาณเตือนที่ควรตรวจสอบระบบทางเดินอาหาร
- อายุ 45 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งลำไส้ใหญ่
- ปวดท้องร่วมกับเลือดจาง ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงแผลเรื้อรังในกระเพาะอาหารหรือก้อนเนื้อที่ทำให้เกิดเลือดออก
- ปวดท้องร่วมกับน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
- กลืนลำบาก และเจ็บขณะกลืน เป็นสัญญาณของความผิดปกติในหลอดอาหาร
- ปวดท้องเรื้อรัง ท้องอืด หรืออาเจียนบ่อย รวมถึงอาเจียนเป็นเลือด
- ท้องเสียสลับท้องผูก ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดหรือดำ โดยไม่ได้รับประทานยา
การส่องกล้องเพื่อตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และสำไส้เล็กส่วนต้น (Gastroscopy: EGD
การส่องกล้องเพื่อตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น เป็นการใช้กล้องขนาดเล็กที่มีความสามารถในการปรับโค้งงอและมีเลนส์ขยายภาพ ส่องเข้าไปตั้งแต่ปากจนถึงกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อตรวจหาความผิดปกติ เช่น การอักเสบ แผล เนื้องอก หรือการตีบตันของอวัยวะ โดยใช้เวลาในการตรวจประมาณ 20-30 นาที
การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)
การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่โดยใช้กล้องขนาดเล็กที่โค้งงอได้ ส่องผ่านทางทวารหนักเพื่อตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ส่วนกลาง และส่วนต้น รวมถึงลำไส้เล็กส่วนปลาย การตรวจนี้มักใช้กับผู้ที่มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่าย เช่น ท้องผูก ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด หรือมีอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ยังแนะนำให้ผู้สูงอายุตรวจเป็นประจำทุก 5-10 ปี โดยสิ่งที่ตรวจพบส่วนใหญ่ มักจะพบลำไส้อักเสบ ริดสีดวง ติ่งเนื้อ และเนื้องอกลำไส้ใหญ่ เป็นต้น โดยใช้เวลาในการตรวจประมาณ 30 - 45 นาที
การส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Endoscopic Retrograde Cholangiopancreatography: ERCP)
การส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อนเป็นการส่องกล้องผ่านทางปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นจนถึงท่อเปิดของน้ำดีในลำไส้เล็ก จากนั้นจึงฉีดสารทึบแสงเพื่อถ่ายภาพเอกซเรย์ เพื่อตรวจหาความผิดปกติของท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน รวมถึงรักษาการอุดตันของท่อทางเดินน้ำดีหรือท่อตับอ่อน
ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง MIS
สถานที่
ชั้น 1 โรงพยาบาลพริ้นซ์ ลำพูน
เวลาทำการ
08:00 - 17:00 น.
เบอร์ติดต่อ
053-582-888
แผนกอายุรกรรมทั่วไป
สถานที่
ชั้น 1 โรงพยาบาลพริ้นซ์ ลำพูน
เวลาทำการ
08:00 - 20:00 น.
เบอร์ติดต่อ
053-582-888