แผลเป็นนูนหรือคีลอยด์ (Keloid) รักษาได้
แผลเป็นชนิดนูน หรือคีลอยด์มักเกิดกับใคร
- คีลอยด์พบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี โดยเฉพาะใน ผู้ที่มีผิวสีเข้ม
- การถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยผู้ที่มีประวัติเป็นแผลเป็นคีลอยด์ หรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นแผลเป็นคีลอยด์
แผลเป็นคีลอยด์สามารถเกิดขึ้นหลังจากการบาดเจ็บที่ผิวหนังจาก
- สิว
- การเผาไหม้
- อีสุกอีใส
- การเจาะหูหรือร่างกาย
- รอยขีดข่วนเล็กน้อย
- รอยแผลจากการผ่าตัดหรือการบาดเจ็บ
- จุดฉีดวัคซีน
ลักษณะแผลเป็นชนิดนูน หรือคีลอยด์
มีสีเนื้อ, สีแดง หรือสีชมพูอยู่เหนือบริเวณแผลหรือบาดเจ็บมีลักษณะเป็นก้อนหรือมีรอยขรุขระเจ็บหรือคันระคายเคืองจากการเสียดสีเช่นถูเสื้อผ้าคีลอยด์จะมีสีเข้มกว่าผิวหนังรอบ ๆ หากสัมผัสกับแสงแดดในปีแรกหลังจากเกิดแผล สีที่เข้มขึ้นอาจไม่หายไป
การรักษารอยแผลเป็นชนิดนูน หรือคีลอยด์
- การฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ เพื่อให้แผลเป็นราบลง
- การจี้ด้วยความเย็น (Cryosurgery)
- การรักษาด้วยเลเซอร์
- การฉายรังสี
- การผ่าตัดเอาออก หลังจากการผ่าตัดแพทย์จะฉีดยาเข้าไปที่บริเวณแผลเป็นเพื่อไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ แต่วิธีนี้จะได้ผลดีเฉพาะคีลอยด์บางตำแหน่ง
- เจลหรือแผ่นซิลิโคนแปะรอยแผลเป็นเพื่อลดการอักเสบและอาการคัน
วิธีป้องกันแผลเป็นแผลเป็นชนิดนูน หรือคีลอยด์
- เมื่อเป็นแผลให้ดูแลแผลให้สะอาด และใช้เจลหรือแผ่นแปะแผลคีลอยด์เพื่อป้องกันการเกิดแผลเป็น
- ระวังอย่าให้เกิดบาดแผล เมื่อเป็นแผลควรรีบทำการรักษา
การรักษาแผลเป็นนั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณาดูว่าแผลเป็นนั้นเป็นแผลเป็นนูนชนิดใด หากเป็นแผลเป็นนูนเกินหรือคีลอยด์ จะต้องพิจารณาการรักษาอย่างเหมาะสม มิฉะนั้นอาจจะมีแผลเป็นใหญ่โตเกินกว่าขนาดเดิมได้ โดยทั่วไปแล้วแผลเป็นมักจะสามารถป้องกันได้ เพราะฉะนั้นหากเรารู้จักวิธีการดูแลรักษาภายหลังจากที่ได้รับแผลเป็นใหม่ๆ ก็จะสามารถป้องกันไม่ให้แผลเป็นนั้นนูนเกินหรือเป็นคีลอยด์ได้ในอนาคต