Header

ไฟฟ้าดูด อันตรายที่ซ่อนอยู่

blank แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพริ้นซ์ ลำพูน

ไฟดูด | โรงพยาบาลพริ้นซ์ ลำพูน

เราสามารถช่วยผู้ถูกไฟดูด ไฟช๊อตได้อย่างไร

ไฟฟ้าช็อตอาจทำให้เกิดแผลไหม้ หรืออาจไม่ทิ้งรอยไว้บนผิวหนัง กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายอาจทำให้เกิดความเสียหายภายในร่างกาย หัวใจหยุดเต้น หรือการบาดเจ็บอื่นๆ บางครั้งไฟฟ้าเพียงเล็กน้อยก็อาจถึงแก่ชีวิตได้

ข้อควรปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ถูกไฟดูด

  1. รีบตัดกระแสไฟฟ้าบริเวณที่เกิดเหตุ สับคัตเอาท์ สับสวิตช์ ยกเว้นเสาไฟฟ้าสาธารณะหรือสายไฟแรงสูง ควรรีบแจ้งการไฟฟ้านครหลวงให้เร็วที่สุด
  2. แจ้งสายด่วน 1669 ติดต่อสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ 
  3. เคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังที่ปลอดภัยอย่างระมัดระวัง เพราะการเคลื่อนย้ายแบบผิดๆ อาจทำให้ได้รับบาดเจ็บมากกว่าเดิม
  4. หากผู้ป่วยหมดสติ เรียกแล้วไม่ตอบสนอง หยุดหายใจหรือมีภาวะหัวใจหยุดเต้น ควรทำ CPR

ข้อควรระวัง

  • ห้ามเข้าไปช่วยผู้ถูกไฟฟ้าดูด จนกว่าจะแน่ใจได้ว่าผู้บาดเจ็บมิได้สัมผัสกับสายไฟฟ้าหรือตัวนำไฟฟ้าใด ๆ 
  • ห้ามเข้าไปช่วยผู้ถูกไฟฟ้าดูด ถ้าผิวหนังผู้ที่จะช่วยนั้นเปียกชื้น เพราะอาจเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าและถูกไฟฟ้าดูดได้
  • ถ้าไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัยหรือไม่ในการเข้าไปช่วยเหลือเนื่องจากไม่มีความรู้ในการตัดกระแสวงจรไฟฟ้าหรือวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง ให้รีบตามคนมาช่วย

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  1. ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ถูกไฟดูด ให้เร็วที่สุด
  2. ต้องตัดไฟฟ้าที่ลัดวงจร และ คำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองก่อนช่วยเหลือผู้ถูกไฟฟ้าดูด โดยหาวัสดุที่เป็นฉนวนไม่นำกระแสไฟฟ้าเช่น ไม้แห้ง ผ้าแห้ง เขี่ยสายไฟให้หลุดออกจากตัว หรือใช้เชือกคล้องและดันตัวผู้ถูกไฟฟ้าดูด ให้หลุดจากบริเวณที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วตรวจดูหัวใจว่าหยุดเต้นหรือไม่กระแสไฟฟ้าแรงสูงที่ไหลผ่านหัวใจอาจทำให้คลื่นหัวใจหยุดเต้นได้ โดยใช้นิ้วมือคลำดูจากการเต้นของชีพจรบริเวณคอ ถ้าหัวใจหยุดเต้น ต้องทำการนวดหัวใจไปพร้อมๆกับการผายปอด (CPR)
  3. หลังจากช่วยเหลือผู้ป่วยออกมาได้แล้วให้นำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

วิธีการทำ CPR

 • เริ่มจากการกดหน้าอก ให้เด็กนอนหงายแล้ววางสันมือข้างหนึ่งตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอกและวางมืออีกข้างทับประสานกันไว้ กดหน้าอกลึก 5 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้ง/นาที

•  ถ้าเคยทำ CPR มาก่อนให้กดหน้าอกสลับเป่าปากช่วยหายใจ กดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับเป่าปากช่วยหายใจ 2 ครั้งจนกว่าทีมกู้ภัยหรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่จะมาถึง

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์